รากฐานของอารมณ์ที่รับรู้ คือเซลล์ประสาท ของ ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์

ความสามารถในการบังคับจัดแจงอย่างแม่นยำซึ่งอารมณ์ทางตา ทั้งโดยเวลาและโดยปริภูมิ ทำให้การเห็นเป็นประสาทสัมผัสยอดนิยมในการค้นคว้าประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์. นักจิตวิทยาได้บูรณาการเทคนิคหลายอย่าง รวมทั้ง

ลูกบาศก์เนกเกอร์: รูปวาดเส้นด้านซ้ายสามารถรับรู้ได้อย่างใดอย่างหนึ่งต่างกันโดยความลึก ใน 2 รูปแบบด้านขวา การเห็นสลับกลับไปกลับมาในระหว่าง 2 รูป โดยไม่ต้องมีตัวกระตุ้นอย่างอื่น[16]

เทคนิคการทดลองชี้เซลล์ประสาทที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่รับรู้

เทคนิคเหล่านี้ ล้วนแต่เข้าไปตัดรอนความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งกระตุ้นภายนอกและอารมณ์ภายในจิตที่เกี่ยวข้องกันของสัตว์ทดลอง ที่ดูเหมือนจะง่าย ๆ และไม่คลุมเครือ[17] ตัวอย่างเช่น อารมณ์ที่สัมพันธ์กับตัวกระตุ้นของสัตว์ทดลอง สามารถระงับได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวินาทีหรือแม้แต่หลายนาที โดยใช้เทคนิคการอำพรางแบบวาบ สัตว์ทดลองไม่เห็นรูปภาพที่ฉายเข้าไปในตาข้างหนึ่งเมื่อมีรูปอีกภาพหนึ่งที่ฉายเข้าไปในตาอีกข้างหนึ่ง. เทคนิคเหล่านี้ทำให้สามารถชี้ตัวกลไกของเซลล์ประสาทที่ตอบสนองต่ออารมณ์ภายใน ไม่ใช่ที่ตอบสนองต่อวัตถุตัวกระตุ้นภายนอก จึงอำนวยให้ศึกษาติดตามการรับรู้อารมณ์ทางตาในสมองได้. ในการทดลองด้วยภาพลวงตา วัตถุตัวกระตุ้นภายนอกดำรงอยู่ ในขณะที่อารมณ์ที่สัตว์ทดลองรับรู้ภายในมี ๆ หาย ๆ ตัวอย่างของภาพลวงตาที่รู้จักกันดีที่สุดคือ ลูกบาศก์เนกเกอร์ (อังกฤษ: Necker cube) เป็นภาพลวงตาที่มีเส้น 12 เส้น เป็นภาพลวงตาเพราะสามารถรับรู้ได้โดยแบบใดแบบหนึ่งใน 2 แบบ ต่างกันโดยความลึก.

การทดลองด้วยเทคนิค การแข่งขันระหว่าง 2 ตา

การลวงตาที่สามารถควบคุมได้อย่างแม่นยำคือการแข่งขันระหว่างสองตา ในกรณีนี้ ให้ตาด้านซ้ายดูรูปเล็ก ๆ คือตะแกรงด้านขวาง ให้ตาด้านขวาดูอีกรูปหนึ่งคือตะแกรงด้านตั้ง แม้ว่ารูปทั้งสองนั้นมีอยู่เสมอโดยความเป็นวัตถุตัวกระตุ้นที่มีอยู่ในภายนอก แต่โดยการเห็นภายใน คนดูเห็นตะแกรงด้านขวางกลับไปกลับมากับตะแกรงด้านตั้งทุก ๆ 2-3 วินาที อันแสดงให้เห็นว่า สมองไม่ยอมให้มีการรับรู้รูปทั้งสองพร้อม ๆ กัน

การทดลองในลิงแม็กแคก

โลโกเธทิสและผู้ร่วมงาน[18] ได้บันทึกเขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์สายตา โดยทำการทดลองในลิงแม็กแคกด้วยเทคนิคการแข่งขันระหว่าง 2 ตา ลิงได้รับการฝึกให้บอกว่า มันเห็นรูปด้านซ้ายหรือด้านขวา. เมื่อวิเคราะห์การกระจายของเวลาที่การเห็นของลิงกลับไปกลับมา และผลที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนความเปรียบต่าง (อังกฤษ: contrast) ของรูปที่แสดงในตาข้างหนึ่ง สามารถทำให้สรุปได้ว่า ลิงและมนุษย์มีประสบการณ์การเห็นขั้นพื้นฐานที่เหมือนกัน. ในคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม (อังกฤษ: primary visual cortex, เรียกย่อ ๆ ว่า V1) อันเป็นคอร์เทกซ์ระดับต่ำ เซลล์ประสาทส่วนน้อยยิงสัญญาณอย่างอ่อน ๆ ตอบสนองต่ออารมณ์ที่ลิงรับรู้ ในขณะที่เซลล์ส่วนมากตอบสนองซึ่งหนึ่งในสองของวัตถุกระตุ้นทางจอประสาทตาสองข้าง โดยไม่ได้เกี่ยวว่า ลิงนั้นเห็นอะไรอยู่หรือรับรู้อะไรอยู่ แต่ในคอร์เทกซ์ระดับสูงเช่นคอร์เทกซ์ขมับด้านล่าง (อังกฤษ: inferior temporal cortex) ที่อยู่ตามทางสัญญาณด้านล่าง (อังกฤษ: ventral stream) เซลล์ประสาทเกือบทั้งหมดตอบสนองต่ออารมณ์ที่ลิงรับรู้เท่านั้น ตัวอย่างเช่น เซลล์ประสาทเกี่ยวกับหน้าตายิงสัญญาณเมื่อลิงบอกว่า "มันเห็นหน้าเท่านั้น ไม่เห็นรูปที่ปรากฏอยู่ที่อีกตาหนึ่ง" ผลการทดลองนี้แสดงว่า ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์เป็นไปร่วมกับเซลล์ประสาทที่ยิงสัญญาณอยู่ในคอร์เทกซ์ขมับด้านล่าง เป็นไปได้ว่า การยิงสัญญาณสู่กันและกันเฉพาะอย่างของเซลล์ประสาทในคอร์เทกซ์ขมับด้านล่างกัย ของคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (อังกฤษ: prefrontal cortex) ส่วนต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญของประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์.

การทดลองในมนุษย์

การทดลองในมนุษย์จำนวนหนึ่งที่ใช้การแข่งขันระหว่าง 2 ตาและภาพลวงตาในเครือเดียวกัน โดยใช้เครื่อง fMRI (อังกฤษ: Functional Magnetic Resonance Imaging) ในการวัดการเคลื่อนไหวของโลหิตที่เป็นมูลแห่งการรับรู้อารมณ์ทางตา แสดงอย่างค่อนข้างแน่นอนว่า การทำงานของเซลล์ประสาทใน

เป็นไปตามอารมณ์ที่ผู้รับการทดลองเห็น ไม่ใช่เป็นไปตามตัวกระตุ้นทางจอประสาทตา[19] นอกจากนั้นแล้ว การทดลองที่ใช้ fMRI จำนวนหนึ่ง[20][21] และที่ใช้ Diffusion tensor imaging[22] อีกจำนวนหนึ่ง[23]แสดงเป็นนัยว่า V1 นั้นสำคัญ แต่ไม่เพียงพอที่จะให้เกิดการรับรู้อารมณ์ทางตา[24]

การทดลองด้วยเทคนิค การอำพรางแบบวาบ

ในการทดลองการรับรู้อารมณ์ที่เกี่ยวข้องกันอีกอย่างหนึ่ง คือ การอำพรางแบบวาบ อารมณ์ที่สัมพันธ์กับรูปที่ฉายเข้าไปในดวงตาข้างหนึ่ง ระงับด้วยการฉายวาบซึ่งอีกรูปหนึ่งเข้าไปในดวงตาอีกข้างหนึ่ง ในขณะที่รูปเดิมก็ยังดำรงอยู่ จุดเด่นของวิธีนี้ซึ่งดีกว่าการแข่งขันระหว่างสองตา คือ การเปลี่ยนแปลงของการรับรู้อารมณ์มีปัจจัยที่อยู่ภายนอก ไม่ใช่ปัจจัยที่อยู่ภายใน[25]

ในลิงที่ได้รับการฝึกให้รายงานอารมณ์ของมันในระหว่างการทดลองด้วยการอำพรางแบบวาบ เซลล์ส่วนมากในคอร์เทกซ์ขมับด้านล่างและคอร์เทกซ์ร่องขมับด้านบน (อังกฤษ: superior temporal sulcus) ติดตามอารมณ์ที่ลิงรับรู้ ไม่ติดตามตัวกระตุ้นที่อยู่ภายนอก คือ เมื่อมีการรับรู้ตัวกระตุ้นที่เซลล์เลือก เซลล์เหล่านั้นก็ตอบสนอง แต่ถ้าตัวกระตุ้นยังฉายอยู่ที่จอประสาทตาแต่ว่าไม่มีการรับรู้ เซลล์เหล่านั้นก็ไม่มีปฏิกิริยา แม้ว่าเซลล์ประสาทใน V1 จะยิงสัญญาณ[26][27]

แม้ในการทดลองในมนุษย์ด้วยเทคนิคการอำพรางแบบวาบ การบันทึกสัญญาณเซลล์ประสาทเดียวในสมองกลีบขมับด้านใน (อังกฤษ: medial temporal lobe) ของผู้ป่วยโรคลมชัก ก็แสดงการระงับไปของการตอบสนองของเซลล์เหล่านั้นเช่นกัน เมื่อตัวกระตุ้นที่เซลล์เลือกมีอยู่ แต่การรับรู้อารมณ์ถูกครอบงำ[28][29]

ใกล้เคียง

ประสาทสัมผัส ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ ประสาทหลอนเสียงดนตรี ประสาทสมอง ประสาทวิทยาศาสตร์ ประสาท ตันประเสริฐ ประสาท สืบค้า ประสาน ศิลป์จารุ ประสาทกายวิภาคศาสตร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ http://books.google.com/books?id=7L9qAAAAMAAJ http://books.google.com/books?id=PFnRwWXzypgC http://www-physics.lbl.gov/~stapp/PTB6.pdf http://consc.net/papers/ncc2.html http://brain.oxfordjournals.org/content/124/7/1263... http://www.scholarpedia.org/article/Neuronal_corre... http://www.theswartzfoundation.org/papers/caltech/... http://th.wiktionary.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E...